ศูนย์เรียนรู้เทคโนโลยีการควบคุมศัตรูพืชโดยชีววิธี มหาวิทยาลัยแม่โจ้ (MJU-BCTLC)
แมลงศัตรูธรรมชาติ
Chilocorus politus (Coleoptera: Coccinellidae)
แมลงตัวห้ำ หรือโดยทั่วไป เรียกว่าด้วงเต่าตัวห้ำ (Predatory Beetles)
ชื่อวิทยาศาสตร์
Chilocorus politus (Coleoptera: Coccinellidae)
บทบาทในธรรมชาติ
แมลงตัวห้ำ หรือโดยทั่วไป เรียกว่าด้วงเต่าตัวห้ำ (Predatory Beetles)
ข้อมูลทางชีววิทยาที่เป็นประโยชน์ต่อการควบคุมแมลงศัตรูพืชโดยชีววิธี
ด้วงเต่าตัวห้ำ C. politus เป็นด้วงเต่า ขนาดกลาง (กว้างxยาว 4.9-5.1 x 5.8-5.9 มิลลิเมตร) ตลอดอายุขัย ตัวเมียสามารถวางไข่ได้ประมาณ 89-149 ฟองต่อตัว ระยะตัวอ่อนใช้เวลา 8-13 วัน ตัวเต็มวัยมีอายุขัยอยู่ระหว่าง 20-22 วัน ระยะที่มีพฤติกรรมเป็นตัวห้ำ ได้แก่ ตัวอ่อนและตัวเต็มวัย
ข้อมูลทางนิเวศวิทยาเป็นประโยชน์ต่อการควบคุมแมลงศัตรูพืชโดยชีววิธี
C. politus เป็นด้วงเต่าตัวห้ำซึ่งมีแหล่งแพร่กระจายในประเทศทางตะวันออก เช่น ภูฐาน เนปาน ไทย และอินโดนีเชีย เพลี้ยหอยเป็นหลัก ในประเทศไทยพบว่ากินเพลี้ยหอยกาแฟ Coccus viridis
การใช้ประโยชน์ด้านการควบคุมแมลงศัตรูพืชโดยชีววิธี
ยังไม่มีการเพาะเลี้ยงเพิ่มปริมาณด้วงเต่าตัวห้ำชนิดนี้ในประเทศไทย การใช้ประโยชน์ในการควบคุมศัตรูพืชสามารถทำได้โดยการอนุรักษ์ด้วงเต่าตัวห้ำนี้ไว้ในแปลงปลูก แมลงอาหารที่สำคัญได้แก่ เพลี้ยหอยศัตรูกาแฟ
ข้อมูลอื่นๆ
แหล่งข้อมูลอ้างอิง
สมหมาย ชื่นราม. 2545. ด้วงเต่าในประเทศไทย. กองกีฏและสัตววิทยา, กรมวิชาการเกษตร, กรุงเทพฯ. 211 หน้า.
Puttarudriah, M., B.M. Maheswari. 1966. Biology, fecundity and rate of feeding of Synonycha grandis Thunberg. Proceedings, Indian Academy of Sciences. 12B: 265-278.